
อุปกรณ์แต่งรถนั้นมีหลากหลายประเภท และบางอย่างเป็นอุปกรณ์แต่งรถที่มีประโยชน์กับตัวรถด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับสายแต่งรถทั้งหลาย เชื่อกันว่าจะต้องรู้จักอุปกรณ์ที่เรียกกัน ค้ำโช๊ค อย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้รถมีความหนึบ และสามารถยึดเกาะถนนได้ดี ดังนั้นวันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ชนิดของ ค้ำ โช๊ค และประโยชน์ ที่ไม่อาจมองข้าม
สิ่งที่คุณจะต้องรู้ก่อนติดตั้ง ค้ำโช๊ค
1. ชนิดของ ค้ำ โช๊ค
ค้ำ โช๊ค เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไทร์บาร์ ทำหน้าที่ในการยึดระหว่างหัวเบ้าโช๊คของตัวถังรถยนต์ โดยมีประโยชน์หรือวัตถุประสงค์เพื่อลดการบิดตัวของถังรถยนต์ เชื่อกันว่าติดตั้งแล้วจะทำให้การขับขี่นุ่มนวล และการเกาะถนนนั้นดีขึ้น โดยปกติแล้วมักจะนิยมกันในวงการรถแข่ง แต่ในปัจจุบันก็มีการนำมาติดตั้งในรถยนต์ทั่วไปด้วย
1.1 การติดตั้งแบบตายตัว วิธีการติดตั้งแบบตายตัวคือมีการติดน็อต ขันแบบถาวร จะช่วยให้เสริมสร้างความแข็งแรงมากขึ้น
1.2 ชนิดแบบติดหน้าแป้นยึดเบ้าโช๊ค อันนี้สามารถถอดออกมาได้ สามารถปรับโครงสร้างได้
2. วัสดุที่ใช้ในการผลิต ค้ำ โช๊ค
โดยปกติแล้วมักจะนิยมใช้เหล็กเกรด A ที่มีคุณภาพค่อนข้างเหนียว และยืดหยุ่นจำพวกโครโมลี่ ซึ่งจะมีความแข็งแรงแต่ว่าก็มีน้ำหนักค่อนข้างหนัก และมีความกระด้างมากกว่า วัสดุอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้คือประเภทอะลูมิเนียม ที่มีน้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นสูง ในขณะเดียวกันก็ให้ความแข็งแรงที่ไม่ได้แข็งแรงมากนัก แล้ววัสดุตัวสุดท้ายที่นิยมใช้คือ Thaitanium ซึ่งมีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรงสูง แต่ราคาก็สูงเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีหลาย ๆคนที่นิยมใช้ ทั้งแบบเหล็ก และแบบอะลูมิเนียมร่วมกัน
3. ประโยชน์ของ ค้ำ โช๊ค
3.1 เพราะเมื่อตัวถังมีความแข็งแรงแล้ว การบิดตัวก็จะมีน้อยลง ทำให้สามารถวิ่งรถได้เร็วขึ้น ไม่ให้เครื่องยนต์ส่าย
3.2 ลดความเสียหายของตัวถังบริเวณจุดติดตั้ง เนื่องจากตัว ค้ำ โช๊ค จะช่วยในการซับแรงกระแทกต่าง ๆของตัวถัง
3.3 ช่วยในการลดแรงกระแทกกับชุดช่วงล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรถมีการตกหลุมกระแทกอย่างรุนแรง ค้ำ โช๊ค จะช่วยในการกระจายแรงกระแทกทำให้อายุการใช้งานของโช๊คยาวนานขึ้น
3.4 เสริมสร้างความมั่นใจในการขับขี่ ในย่านที่เป็นความเร็วสูง
การจะติด ค้ำ โช๊ค หรือไม่นั้น ไม่ได้มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด ทั้งนี้ทั้งนั้นหากจะตอบว่าติดแล้วดีขึ้นหรือไม่ ก็ตอบเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ยาก ผู้ใช้ส่วนใหญ่อาจจะให้คำตอบก็ดีขึ้น แต่สุดท้ายแล้วก็คงต้องลองติดเอง ถึงจะสามารถตอบได้ว่าตอบโจทย์กับผู้ใช้งานมากน้อยแค่ไหน
อ่านเพิ่มเติม: กฎหมายจราจร