
ฟิล์มรถยนต์นั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับคนที่มีรถยนต์ เพราะฟิล์มรถยนต์จะเป็นตัวป้องกันรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อตัวเรา นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในรถยนต์ ไม่ให้โดนรังสี UV ทำร้าย วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก เทคนิคการเลือก ฟิล์มรถยนต์ อย่างไรให้สุดปัง และเข้ากับรถของคุณ
เทคนิคการเลือก ฟิล์มรถยนต์ อย่างไรให้สุดปัง และเข้ากับรถของคุณ
1. เลือกตามเงินในกระเป๋า
1.1 ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ทั่วไปราคาถูก ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีตั้งแต่ราคาหลักพันขึ้นไป จนถึงหลักพันกลาง ๆ ซึ่งฟิล์มติดรถยนต์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นฟิล์มดำธรรมดา สามารถป้องกันรังสี UV ได้เป็นบางส่วน แต่อาจจะไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณภาพมีตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับปานกลาง
1.2 ฟิล์มรถยนต์ ระดับมาตรฐาน โดยปกติแล้วราคาจะอยู่ที่กลาง ๆ มีตั้งแต่ราคาหลักพัน ไปจนถึงราคาเกือบหมื่น มักจะเป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วกันรังสี UV ได้มากกว่า 99%
1.3 ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ระดับพรีเมียม สำหรับอันนี้ราคาค่อนข้างสูง นอกจากจะป้องกันรังสี UV แล้วยังสามารถป้องกันรังสีอินฟราเรดได้อีกด้วย มีตั้งแต่ราคาระดับหลักหมื่นขึ้นไป
2. เลือกตามชนิดของฟิล์มกรองแสงโดยการดูจากเทคโนโลยีการผลิต
2.1 ฟิล์มรถยนต์ ด้วยเทคโนโลยีย้อมสี Deep Dye Film เนื้อฟิล์มมักจะเป็นสีดำทึบ แล้วปิดท้ายด้วยการเคลือบสารป้องกันรังสี UV กันแสงได้ดีแต่ความร้อนยังไม่ดีเท่าที่ควร
2.2 การผลิตฟิล์มด้วยเทคโนโลยี Multi layers Sputtering Film ใช้วิธีการซ้อนทับแผ่นสารป้องกันความร้อนเป็นชั้น ๆ หรือว่าเรียกกันว่าฟิล์มปรอทนั่นเอง
2.3 ฟิล์มกรองแสงเทคโนโลยี Nano IR หรือฟิล์มนาโนเซรามิก สามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่าสูงถึง 99% เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในตอนนี้
3. เลือกจากวัสดุที่ใช้ในการผลิต
3.1 ฟิล์มปรอท เป็นฟิล์มที่เคลือบด้วยโลหะหรือว่าไอโลหะต่าง ๆ ดูเนื้อฟิล์มจะสามารถสะท้อนเหมือนกระจก ลดความร้อนในลดได้ประมาณ 35-90% แต่มีความมันวาว อาจส่งผลต่อการสะท้อนแสงยังสายตาผู้อื่น
3.2 ฟิล์มอินฟราเรด มีคุณสมบัติในการตัดรังสีอินฟราเรดมาใช้ในการเคลือบแผ่นฟิล์ม
3.3 ฟิล์มนิรภัย นอกจากจะป้องกันรังสี UV ยังมีความหนาถึง 4 มม. ป้องกันการทุบกระแทกจากอุบัติเหตุ
3.4 ฟิล์มใสประเภทนาโน เป็นฟิล์มใสที่ไม่บดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ แต่สามารถกันความร้อนได้มากถึง 70%
สิ่งสำคัญในการพิจารณาการติด ฟิล์มรถยนต์ คือ การรับประกันของฟิล์ม และต้องดูว่าฟิล์มคุณภาพนั้น สามารถอยู่ได้มากเกิน 5-7 ปีหรือไม่ และที่สำคัญอย่าลืมศึกษาเงื่อนไขของแต่ละบริษัทให้ดี เพื่อให้เราได้ฟิล์มที่มีคุณภาพ สามารถป้องกันรังสี UV คุ้มค่ากับการลงทุน
อ่านเพิ่มเติม: หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง