
สำหรับคนที่รักรถทั้งหลาย การดูแลเครื่องยนต์ก็ถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่มีความสำคัญ เพราะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ยังทำให้เราสามารถเดินทางอย่างปลอดภัย และมั่นใจได้ว่า รถยนต์ของเราจะยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ พาเราไปถึงที่หมาย อีกหนึ่งพื้นฐานของการดูแลเครื่องยนต์ที่ถูกต้อง นั่นก็คือการ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง รถยนต์ เพราะปกติแล้วการ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง รถยนต์ นั้น จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการใช้งาน
วันนี้เราจึงจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจและทำความรู้จักกัน เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์ ด้วยตนเอง
คุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่อง คือสารหล่อลื่นที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนภายในรถยนต์ หรือเครื่องยนต์ เกิดการเสียดสีหรือกัดกร่อนจนเกินไป รวมไปถึงยังลดการสึกหรอของโลหะ ขณะที่รถยนต์ในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นคณะออกตัวหรือสตาร์ทรถ น้ำมันเครื่องช่วยระบายความร้อน ให้ชิ้นส่วนทำงานได้อย่างปกติ ป้องกันการเกิดสนิม คราบเขม่า และการสะสมของสิ่งสกปรก รวมไปถึงโครงโลหะต่าง ๆ ที่อาจจะไปอุดตันตัวเครื่อง และที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยรักษาคุณภาพของน้ำมันไม่มีความหนืด น้ำมันเครื่องจึงเปรียบเสมือนกับตัวสูบฉีดหัวใจของเครื่องยนต์ ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
เมื่อไหร่ที่ควรจะมีการ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง รถยนต์
1. เปลี่ยนตามระยะทาง
โดยปกติแล้วสำหรับรถยนต์ที่มีการใช้งานไปซักระยะหนึ่ง ควรจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก ๆ 8,000-10,000 กิโลเมตร กรณีที่มีการใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพพรีเมียม อาจจะทำให้สามารถวิ่งได้ถึงระยะทาง 15,000 กิโลเมตร โดยการจะเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเครื่องแบบไหนให้พิจารณาดังนี้
1.1 กรณีที่ใช้น้ำมันเครื่องธรรมดา เปลี่ยนที่ระยะ 7,000 ถึง 7,500 กิโลเมตร
1.2 กรณีที่ใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนที่ระยะ 15,000 ถึง 20,000 กิโลเมตร
2. เปลี่ยนตามระยะเวลา
ในอีกกรณีหนึ่งคือการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลา โดยไม่ต้องดูเลขไมล์ แต่ก็ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
2.1 กรณีที่ใช้น้ำมันเครื่องธรรมดาควรเปลี่ยนทุก ๆ 6 เดือน
2.2 กรณีที่ใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ควรเปลี่ยนทุก ๆ 6-9 เดือน
2.3 กรณีที่เป็นน้ำมันเครื่อง สังเคราะห์แท้ควรเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี
ข้อเสียของการไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลา หรือเลขไมล์ที่กำหนด
1. เครื่องอืดเร่งไม่ขึ้น คันเร่งไม่มีความตอบสนองเนื่องจากว่าน้ำมันเครื่องหนืดเพราะมีการใช้งานมายาวนาน
2. ชิ้นส่วนภายในสึกหรอ เนื่องจากโลหะมีการเสียดสีกันตลอดเวลาเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จึงทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นลดลง ทำให้อุปกรณ์สึกหรอ
3. มลพิษ เนื่องจากเครื่องยนต์ทำงานหนักทำให้เกิดการปล่อยมลพิษออกมามากขึ้น
4. ทำให้รถเปลืองน้ำมัน เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของเครื่องยนต์จึงทำให้รถยนต์กินน้ำมันมากขึ้น
การ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง รถยนต์ ด้วยตัวคุณเอง
1. เตรียมรถของคุณให้พร้อม
วิธีการคือ หาสถานที่จอดรถที่เป็นพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ พร้อมใส่เบรกมือ ต้องปล่อยให้น้ำมันเครื่องหรือตัวเครื่องเย็นตัวลงสักพัก สามารถใช้แม่แรงยกรถของคุณขึ้น
2. ทำการเปิดฝาครอบน้ำมัน
ตำแหน่งฝาครอบน้ำมันสามารถดูได้จากคู่มือรถ เปิดออก
3. วางภาชนะ
ขนาดที่ใหญ่พอไว้ใต้รูถ่ายน้ำมันเครื่อง และหาตำแหน่งรูถ่ายน้ำมันเครื่องใต้ท้องรถ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นน๊อตตัวเดียวอยู่ด้านล่างสุดของอ่างน้ำมันเครื่อง
4. ทำการถ่ายน้ำมันเก่าออก
ปล่อยให้น้ำมันเก่าไหลออกจนหมดซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เสร็จแล้วให้หาตำแหน่งตัวกรอง ตัวกรองนี้จะเหมือนกับตัวกรองที่เรากำลังจะนำมาเปลี่ยน
5. ใส่ตัวกรองเข้าไปใหม่
โดยอย่าลืมทำความสะอาดที่รองรับตัวกรองน้ำมัน ราคาน้ำมันบาง ๆ บนปะเก็นตัวกรองตัวใหม่ เสร็จแล้วให้นำ น็อตไขกลับเข้าไปให้แน่นด้วยประแจ
6. เติมน้ำมันใหม่
ค่อย ๆ เติมน้ำมันลงไปอย่าให้หก โดยวัดระดับน้ำมันด้วยแท่งวัดระดับน้ำมันเครื่องทุก ๆ การเติม 2 ลิตร ถ้าน้ำมันเครื่องรถลงให้เติมเพิ่ม
7. ทำความสะอาด กำจัดน้ำมันเก่า และตัวกรองเก่าอย่างถูกวิธี
ห้ามเก็บรวมทิ้งกับของเสียในบ้าน หรือทิ้งไปตามท่อระบายน้ำเพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องปิดในภาชนะที่ปิดสนิท เขียนฉลากกำกับ แล้วส่งไปยังสถานีบริการหรือศูนย์รีไซเคิลใกล้บ้าน
ถ้าหากไม่อยากให้รถของคุณหมดอายุการใช้งานอย่างรวดเร็ว การดูแลรักษาเครื่องยนต์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่คุณทำได้ และคุณสามารถทำมันได้ด้วยตัวเอง นั่นก็คือการ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์ ซึ่งหวังว่าวันนี้คงจะเป็นประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อย อย่าลืมดูแลรักษารถของคุณให้ดีให้อยู่กับเราไปนาน ๆ
อ่านเพิ่มเติม: ออกรถปีชง