
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเทศกาล ตรุษจีน ถึงจะต้องไหว้แม่ย่านาง หรือต้องมีการ บูชารถ ตรุษจีน เทศกาลดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องอะไรกับการไหว้แม่ย่านาง จริง ๆ แล้วคุณเชื่อหรือไม่ว่าเทศกาลไหน ๆ ที่มีความสำคัญในทางพุทธศาสนาหรือในทางความเชื่อ คนไทยสามารถจัดพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการไหว้หรือ บูชารถ ได้ ดังนั้นเทศกาล ตรุษจีน ก็ถือว่าเป็นวันมหามงคลอย่างหนึ่ง ของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ถือว่าเป็นวันปีใหม่จีนดังนั้นการเสริมโชคลาภให้กับรถของเราก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนอยากทำ
รวมสายมู บูชารถ ตรุษจีน อย่างไรให้ถูกต้อง
1. จัดเตรียมอุปกรณ์และของสำหรับใช้ในการไหว้
การ บูชารถ ต้องเตรียมอุปกรณ์คือจะเป็นสิ่งของในการที่จะใช้ในการไหว้ อันประกอบไปด้วย น้ำเปล่า 1 ขวด แต่หากเป็นวัน ตรุษจีน จะนิยมเปลี่ยนเป็นน้ำแดง 1 ขวด แทน ดอกไม้หรือพวงมาลัยที่ใช้ในการไหว้ ใช้ดอกดาวเรืองหรือดอกกล้วยไม้ ผลไม้มงคลจำนวน 5 อย่าง ได้แก่ กล้วย ส้ม สับปะรด แก้วมังกร และทับทิม ธูป 9 ดอก และที่สำคัญที่สุดคือขนมมงคล เช่น ขนมเข่ง ขนมถ้วย และขนมเทียน เป็นต้น
ซึ่งผลไม้ทั้งหมดนี้มีความหมาย ที่แสดงถึงวัน ตรุษจีน ยกตัวอย่าง เช่น ทับทิม เป็นผลไม้สีแดง แสดงถึงความมงคล โชคลาภและความร่ำรวย แก้วมังกร เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของครอบครัว หากเป็นแก้วมังกรที่เนื้อข้างในเป็นสีแดงยิ่งดีมาก เพราะจะแสดงถึงความร่ำรวย และเสริมดวง เป็นต้น
2. ขั้นตอนของการไหว้แม่ย่านางรถในวัน ตรุษจีน
หลังจากเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ให้ตั้งโต๊ะ สำหรับไหว้บริเวณหน้ารถ หลังจากนั้นวางสิ่งของที่เตรียมไว้หน้ารถให้เรียบร้อย เพื่อแสดงถึงการ บูชารถ และดำเนินการสตาร์ทรถ จากนั้นทำการบีบแตร 3 ครั้งถือเป็นการเอาฤกษ์ ทำการจุดธูปเทียนตั้งนะโม 3 ยกของขึ้นถวาย กล่าวคาถาบูชาแม่ย่านาง
สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ทุติยัมปิ สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ตะติยัม สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
3. คำลาของไหว้สำหรับแม่ย่านางรถ
หลังจากไหว้แม่ย่านางไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำอาหาร หรือของถวายมารับประทาน จะต้องกล่าวคำบอกลาเพื่อนำของต่าง ๆ เหล่านี้ไปทำประโยชน์ต่อโดย ตั้งนะโม 3 จบ และกล่าว
พุทธังลา ธัมมังลา สังฆังลา
ข้าพเจ้าขอลาสิ่งของเหล่านี้เพื่อให้เป็นทานต่อไป เป็นยารักษาโรค อย่าให้เกิดโทษเลย
นะ เสสัง มังคะลา ยาจามะ
การไหว้รถ หรือการ บูชารถ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลใดก็แล้วแต่ เราถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนที่ขับรถหรือเดินทาง ให้เรารู้สึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครอง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเทศกาล ตรุษจีน ปีใหม่ สงกรานต์ ความเชื่อเหล่านี้จะยังคงผูกพันและฝังรากอย่างลึกอยู่ในทุกรุ่นทุกสมัยของคนไทย ซึ่งก็ไม่ได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บังคับแต่อย่างใดหากทำแล้วมีความสบายใจไม่เดือดร้อนใครก็สามารถทำได้
อ่านเพิ่มเติม: ไหว้รถวันสงกรานต์