
การต่อทะเบียนรถยนต์เป็นหน้าที่ของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของรถที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงถึงการดูแลเอาใจใส่ตรวจสอบสภาพรถเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และยังเกี่ยวข้องกับระบบภาษีรถยนต์ด้วย ซึ่งมือใหม่ที่เพิ่งเป็นเจ้าของรถคันแรก หรือผู้ที่เพิ่งได้รับส่งมอบรถจากคุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่รู้ในเรื่องนี้ เราจึงอยากชวนมาดูกันว่า ต่อทะเบียนรถใช้อะไรบ้าง และเสียค่าใช้จ่ายอย่างไร
ต่อทะเบียนรถใช้อะไรบ้าง เอกสารที่จำเป็นสำหรับการต่อทะเบียนรถ
คนที่สงสัย ขอให้เช็คเอกสารให้ครบถ้วน ดังนี้
1. สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ไม่ว่าจะเป็นเล่มใหม่ป้ายแดง หรือเล่มที่ส่งต่อผ่านมาหลายมือแล้วหากซื้อรถมือสอง
2. พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นประกันภาคบังคับเพื่อคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลและเยียวยา ทั้งแก่ผู้ขับขี่และผู้ประสบภัยบนท้องถนน ซึ่งเจ้าของรถยนต์ รวมถึงจักรยานยนต์ต้องมีทุกคัน
3. ใบรับรองว่าผ่านการตรวจสอบสภาพรถจาก ตรอ. จากหน่วยงานหรือภาคเอกชนที่มีสัญลักษณ์ให้บริการนี้ตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก
4. ใบรับรองการตรวจสอบด้านแก๊ส ในกรณีที่รถมีการใช้ระบบแก๊ส LPG ขับเคลื่อน
การจ่ายภาษีรถยนต์
สิ่งหนึ่งที่มักทำควบคู่กันกับการต่อทะเบียนรถ ก็คือ การจ่ายภาษีรถยนต์ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนและภาษีรถฯ ปี พ.ศ. 2562 ที่กำหนดไว้ว่าผู้เป็นเจ้าของรถนั้นต้องดูแลให้รถที่จดทะเบียนแล้ว เสียภาษีรถประจำปีด้วย จะยกเว้นได้กรณีที่เข้าข่ายการยกเว้นตามกฎหมายเท่านั้น
การต่อภาษีรถยนต์จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ขนาดซี.ซี.ของกระบอกสูบ หาก 600 ซีซี จะคิดที่ซีซีละ 50 สตางค์ ส่วน 601-1,800 ซีซี คิดที่ซีซีละ 1.50 บาท และตั้งแต่ 1,800 ซีซีคิดที่ซีซีละ 4 บาท นอกจากนี้ยังขึ้นกับอายุของรถด้วย ว่าจดทะเบียนมาแล้วกี่ปี หากเกินห้าปี ในปีที่ 6-10 จะได้รับการลดหย่อนค่าภาษีรถ 10, 20, 30, 40 และ 50% (สูงสุด) ด้วย
ในปัจจุบัน การต่อทะเบียนรถและการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี เป็นเรื่องแสนง่ายดาย เพราะสามารถทำได้ที่กรมการขนส่งในเวลาทำการ ซึ่งมีอยู่ทั่วไทย หรือหากเป็นกรณีที่รถไม่ต้องตรวจสอบสภาพ ก็สามารถเข้าไปดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่ง https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf ก็จะได้รับความสะดวกสบายอย่างมาก
เมื่อทราบแล้วว่า การ ต่อทะเบียนรถ ใช้อะไรบ้าง ก็จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอีกต่อไป เพราะเอกสารและขั้นตอนไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ทั้งนี้ หากไม่ต่อทะเบียน จนทำให้อยู่ในสถานะ “ทะเบียนรถขาด” ย่อมเกิดปัญหาค่าปรับตามมาที่ 1% ของภาษีรถต่อเดือน และหากเกินสามปี ก็จะทำให้กรมการขนส่งทางบกแจ้งระงับการใช้งานและถูกยกเลิกป้ายทะเบียนด้วย
อ่านเพิ่มเติม: แนะนำ 5 ที่พัก รถบ้าน บรรยากาศสุดชิล 2565