เจ้าของบริษัท ซื้อรถในนามบริษัท หรือ ในนามบุคคลดีกว่ากัน

by yanyon
ซื้อรถในนามบริษัท

รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งไอเทมสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในบริษัท การมีรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการทำธุรกิจ หรือการไปพบปะสังสรรค์กับลูกค้า ย่อมมีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางทั้งสิ้น ดังนั้น บางบริษัทก็มีความจำเป็นจะต้อง ซื้อรถ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจ ว่าถ้า เจ้าของบริษัท ซื้อรถในนามบริษัท หรือ ในนามบุคคลดีกว่ากัน

ข้อแตกต่างระหว่างรถยนต์ส่วนบุคคล และรถยนต์เชิงพาณิชย์ กรมสรรพากรแบ่งรถยนต์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เชิงพาณิชย์  

1. รถยนต์ส่วนบุคคล ถือเป็นทรัพย์สินฟุ่มเฟือย ใช้เพื่อการส่วนตัวเป็นหลัก เช่น รถกระบะ รถบรรทุก  ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านภาษีได้

2. รถยนต์เชิงพาณิชย์ ซื้อมาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ ดังนั้นควรซื้อในนามบริษัท ส่วนกรณีรถยนต์ส่วนบุคคล ที่ซื้อมาสำหรับผู้บริหาร ควรจะซื้อในนามของบริษัทหรือ ไม่ให้พิจารณาจากระยะเวลาในการใช้งาน หากซื้อมาใช้งานนานเกิน 5 ปี ให้ซื้อในนามบริษัท กรณีซื้อมาชั่วคราว หรือเปลี่ยนรถบ่อย และขายไปควรซื้อในนามบุคคล 

C:\Users\thanapornhan\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\2.png

ข้อดีของการ ซื้อรถในนามบริษัท 

1. สามารถหักค่าเสื่อมราคา ลงเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ไม่เกินปีละ 2 แสนบาท มาจากข้อกำหนดของกรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า สำหรับรถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง สามารถบันทึกเป็นต้นทุนของรถได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งโดยปกติแล้วอายุการใช้งานของรถยนต์จะไม่เกิน 5 ปี  

ตัวอย่างาการคำนวณ รถยนต์ 5 ปี ราคา 1 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่าย (ค่าเสื่อม 5 ปี) = 1 ล้าน ค่าเสื่อม 0 บาท ขายรถไป 3 แสนบาท ต้องเสียภาษีขาย 21,000 บาท พิจารณาความคุ้มค่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล ประหยัดได้ 2 แสนบาท และมีกำไรจากการขาย ที่ต้องเสียภาษีอยู่ที่ (3 แสน × 20%) = 6 หมื่นบาท ดังนั้นเมื่อนำภาษีเงินได้นิติบุคคล – กำไรจากการขายที่ต้องเสียภาษี =  2 แสน – 6 หมื่น เท่ากับ 119,200 บาท  

2. ค่าน้ำมันและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถ เช่นค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อมแซมรถยนต์ สามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ 

3. ค่าเบี้ยประกันภัยรถ ค่าต่อภาษีรถ สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี 

ข้อจำกัดในการ ซื้อรถ ในนามบริษัท 

1. ไม่ควรนำรถไปใช้ในกิจการอื่น ๆ หรือกิจกรรมอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ไม่ควรเอาไปใช้ในกิจกรรมส่วนตัว  

2. ภาษีซื้อ ไม่สามารถนำภาษีซื้อไปหักลดกับภาษี แต่จะนำไปเป็นบันทึกค่าใช้จ่ายของกิจการแทน 

3. กำไรจากการขายรถ กำไรส่วนนี้จากการขายจะต้องลงบันทึกเป็นรายได้ของกิจการ และต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย 

4. กรณีที่มีการขายรถ และกิจการของเราเป็นกิจการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำเรื่องส่งกรมสรรพากรด้วย 
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับผู้ที่กำลังมองหารถยนต์ ไว้สำหรับใช้งานในบริษัท หากจะถามว่าควรจะ ซื้อรถ ในนามบริษัท หรือซื้อเป็นแบบรถยนต์ส่วนตัว ก็คงต้องพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเป็นข้อมูล ให้ท่านนำไปตัดสินใจในการเลือกซื้อในลำดับต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

Related Posts

Leave a Comment