
การต่อ พรบ. รถยนต์และต่อภาษีรถยนต์ เป็นเรื่องที่ต้องทำทุกปีสำหรับผู้มีชื่อจดทะเบียนเล่มเป็นเจ้าของรถคันนั้น ๆ ต้องใส่ใจรับผิดชอบทำตามกฎหมาย เพื่อรักษาสิทธิ์ตัวเองและคุ้มครองผู้อื่น หากคุณเป็นผู้ขับขี่มือใหม่ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายและความจำเป็นในการต่อ พรบ. และภาษีรถ เราอยากให้อ่านบทความนี้จนจบ
ความหมายของ พรบ. รถยนต์
คำว่า พรบ. ย่อมาจากพระราชบัญญัติ นั่นหมายถึงกฎหมายสำคัญอีกฉบับหนึ่งให้ผู้ขับขี่จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ พรบ.รถยนต์มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าต่อชีวิตและทรัพย์สิน ผู้ที่ขับขี่รถคันใด ต้องเช็คเสมอว่ารถคันนั้นต่ออายุ พรบ. ไม่มีขาด
ความคุ้มครองของ พรบ. รถยนต์
เมื่อเราจดทะเบียนรถยนต์กับกรมการขนส่งทางบกแล้ว การต่ออายุ พรบ. ก็เป็นสิ่งที่ตามมาเป็นประจำทุกปี เพราะหากเกิดการเฉี่ยวชนคนที่กำลังข้ามถนน ชนรถคันอื่น ฯลฯ ผู้ที่กระทำผิดจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ แก่ผู้ประสบอุบัติเหตุ แต่หากปล่อยให้ พรบ.ขาดอายุ ก็จะต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำขวัญ หรือ ค่าทำศพ หากเหยื่อเสียชีวิต
ความต่างของการต่อพรบ. รถยนต์กับภาษีรถยนต์
พรบ. เป็นสิ่งที่ต้องทำกับรถยนต์ทุกคันที่ขึ้นทะเบียนไว้ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองตามกฎหมายดังที่กล่าวมาก ส่วนภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้รัฐบาลนำเงินภาษีไปซ่อมแซมปรับปรุงถนนที่ใช้สัญจรทั่วประเทศ ซึ่งทั้งสองมักต้องทำพร้อมกัน เพราะหมดอายุพร้อมกัน หากปล่อยให้ พรบ. ขาดก็จะไม่สามารถไปต่อภาษีรถยนต์ได้
การต่อพรบ.รถยนต์ทำที่ไหน
ในปัจจุบัน กรมการขนส่งทางบกให้ช่องทางออนไลน์ คือ เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf ที่ผู้ขับขี่สามารถเข้าไปลงทะเบียนใช้งานสำหรับครั้งแรก และครั้งต่อไปก็สามารถเริ่มจากการใส่ตัวเลขสิบสามหลักบนบัตรประชาชนได้เลย เป็นการแจ้งขอต่อ พรบ. ที่นับว่าสะดวกรวดเร็วและทำได้จากมือถือหรือคอมพิวเตอร์
ส่วนอีกช่องทางหนึ่ง คือ การติดต่อที่สำนักงานขนส่งจังหวัดต่าง ๆ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งจะมีข้อจำกัดคือ มีเวลาเปิดปิดทำการรายวัน ส่วนเคาน์เตอร์เซอร์วิสของเซเว่นอีเลฟเว่นที่มีหลาย 100 สาขาทั่วประเทศนั้นไม่มีเวลาปิดทำการจึงต่อ พรบ.รถได้สะดวกกว่า
ถ้าไม่ต่อพรบ.รถยนต์ จะเป็นอย่างไร
จะมีค่าปรับทางตามกฎหมาย และเมื่อรถคันนั้นเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุใด ๆ ผู้ขับขี่ (ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถคันนั้นหรือไม่) ก็ต้องจ่ายค่าเสียหายต่าง ๆ ทั้งหมดแก่เหยื่อ เพราะการไม่ต่ออายุ พรบ. ก็เหมือนกับการปฏิเสธความคุ้มครองจากพรบ.รถยนต์ไปแล้วนั่นเอง
เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวผู้ขับขี่และเหยื่อจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เราจึงต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐใน การต่อ พรบ. รถยนต์ และต่อภาษีรถประจำปีก่อนที่จะขาดอายุ จะช่วยให้ไร้กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายหากเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ขึ้นมา
อ่านเพิ่มเติม: หลักการทำงานของอะไหล่รถแต่ละประเภท ที่ผู้ขับขี่ควรรู้