การต่อภาษีรถ คืออะไร เข้าใจง่ายใน 3 นาที

by yanyon
การต่อภาษีรถ

หากคุณเป็นนักขับขี่มือใหม่ป้ายแดงก็ต้องทราบว่ามีสิ่งที่ต้องทำสม่ำเสมอรายปีนอกจากเสียภาษีบุคคลธรรมดาจากการทำงานประจำ ก็คือการการต่อภาษีรถยนต์ปีละครั้ง ซึ่งจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามอายุและรุ่นของรถยนต์ รวมถึงมีเอกสารทางการที่ต้องใช้หลายอย่าง

ซึ่งเรารวบรวมการต่อภาษีรถไว้แบบสั้น ๆ เข้าใจง่ายใน 3 นาที ดังนี้

ก่อนต่อภาษี ต้องมี พรบ.

กรมการขนส่งกำหนดให้ การต่อ ภาษีรถ ต้องใช้ พรบ. รถยนต์ ด้วย ซึ่งสถานที่ต่ออายุ พรบ. ต้องแยกตามอายุของรถ คือ ถ้าอายุของรถน้อยกว่า 7 ปีสามารถไปดำเนินการได้ที่ธนาคารธกส., เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ 7-eleven, และตัวแทนประกันภัย โดยใช้สำเนาเล่มทะเบียนรถและบัตรประชาชนของเจ้าของไปติดต่อ 

แต่ถ้ารถเริ่มเก่าอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องนำรถไปตรวจสภาพ ตรอ. จากสถานตรวจสภาพรถยนต์ของเอกชน (สังเกตป้ายเขียนว่า ตรอ.) ได้ทั่วประเทศ เพื่อนำเอกสารนั้นไปยื่นที่กรมขนส่งทางบก โดยจะมีค่าเบี้ยประกันภัยของพรบ. รถยนต์ที่ต่างกันไปอีกด้วย เช่น รถ 7 ที่นั่งอยู่ที่ 1,100 บาทต่อปี รถไฟฟ้าและรถยนต์ทั่วไปต่ำกว่า 7 ที่นั่งเท่ากับ 600 บาทต่อปี

การต่อภาษีรถ

การต่อภาษีรถ ต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ใช้มีสามอย่าง คือ พรบ. รถยนต์ ดังที่กล่าวไปแล้ว, คู่มือรถฉบับจริง หรือสำเนา ที่มากับรถยนต์ตั้งแต่ตอนซื้อ และหนังสือรับรองการตรวจสภาพตรอ. ล่าสุด 

ค่าใช้จ่ายเพื่อต่อภาษีรถ

ค่าใช้จ่ายสำหรับ การต่อ ภาษีรถ ยนต์จะเป็นไปตามกฎหมายที่ออกมาในปี พ.ศ. 2562 สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปนั้น ภาษีที่ต้องจ่ายจะขึ้นกับขนาดของรถเป็นซีซี เช่น

– กระบอกสูบความจุน้อย เช่น ECO car ไม่เกิน 600 ซีซี จะคิดภาษี 50 สตางค์ต่อซีซี

– รถยนต์ซีดาน 600 ถึง 1800 ซีซี ภาษีจะอยู่ที่ 1.5 บาทต่อซีซี

– รถขนาดใหญ่ (เช่น 7 ที่นั่ง) ที่มากกว่า 1800 ซีซี ค่าภาษีจะอยู่ที่ 4 บาทต่อซีซี

การต่อภาษีรถ

อายุรถนานได้รับการลดหย่อนภาษีรถ

นอกจากภาษีส่วนบุคคลที่คุณได้สิทธิ์ลดหย่อนจากมาตรการทางภาษีแล้ว ภาษีรถยนต์ก็มีส่วนลดหย่อนให้ได้เช่นกัน แต่จะให้กับรถที่จดทะเบียนมาแล้วมากกว่าห้าปี โดยในปีที่ 6 ถึง 10 จะได้รับการลดหย่อนไป 10, 20, 30, 40 และ 50% ตามลำดับ หากอายุรถยาวนานกว่านั้นก็ให้คงที่ที่ 50%

จากข้อมูลที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าเรื่องของภาษีรถยนต์ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมีเอกสารทางกฎหมายและค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมเอาไว้เป็นประจำทุกปี หากไม่เตรียมการเอาไว้แต่เนิ่น ๆ ก็มีโอกาสที่จะต้องปวดหัวกับสิ่งเหล่านี้อย่างแน่นอน เราหวังว่าบทความนี้จะทำให้นักขับขี่ใหม่ ๆ ได้เตรียมรับมือกับเรื่อง พรบ. และภาษีรถยนต์ได้ได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: การโอนรถ คืออะไร เข้าใจง่ายใน 3 นาที

Related Posts

Leave a Comment